บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ธรรมะเห็นได้ยาก


ช่วงนี้ [1] ผมกลับมาอ่านหนังสือ “คำถาม คำตอบ: ปัญหาทางพระพุทธศาสนา เล่ม 7ของคุณสุชีพ ปุญญานุภาพ ฉบับพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2543 เห็นว่า มีประเด็นที่ควรนำมาขยายความและเปรียบเทียบให้ผู้อ่านเข้าใจศาสนาพุทธได้ดีขึ้น

เข้าใจศาสนาพุทธได้ดีขึ้นในเรื่องใด

เข้าใจศาสนาพุทธได้ดีขึ้น ในประเด็นที่ว่า

พุทธวิชาการในสมัยปัจจุบันนี้ ก็เหมือนกับ “เถรใบลาน” ในสมัยของพระพุทธเจ้านั่นเอง ไม่ได้แตกต่างกันแต่ประการใด 

ศึกษาธรรมะมาเป็นเวลานับสิบๆ ปี  บางคนศึกษากันทั้งชีวิต ไม่ได้รับประโยชน์จากการศึกษาศาสนาแต่อย่างใด 

จากการตรวจสอบบุคคลดังกล่าวหลายสิบคน เมื่อตายแล้วไปอบายภูมิกันทั้งสิ้น 

คำอธิบายของพุทธวิชาการเถรใบลานเปล่าเหล่านั้น ถ้าไม่พิจารณาอย่างลึกซึ้งจริงจังแล้ว ก็ดูเหมือนว่า อธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ชัดเจนถูกต้อง

แต่เมื่อพิจารณากันอย่างลึกซึ้งจริงจังเข้าไปจนถึงความเป็นเหตุเป็นผลแล้ว ก็พบว่า คำอธิบายของพุทธวิชาการเถรใบลานเปล่า ไม่ได้ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจศาสนาขึ้นแต่อย่างใด

เป็นคำอธิบายที่ขาดเหตุผลในเชิงวิชาการโดยสิ้นเชิง แต่การสวมเสื้อนักวิชาการที่ดูเคร่งขรึม ประกอบกับคนไทยไม่ค่อยใช้เหตุผลกัน 

คำอธิบายที่ขาดเหตุผลเหล่านั้น จึงได้รับการเชื่อถือ และ “เชื่อ” กันต่อๆ มา

เมื่อเปรียบเทียบกับคำอธิบายจากสายวิชาธรรมกาย จะเห็นว่า คำอธิบายของสายวิชาธรรมกายสามารถอธิบายได้ชัดเจนยิ่งกว่า

ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ คำอธิบายจากสายวิชาธรรมกาย สามารถปฏิบัติตามได้อีกด้วย  การปฏิบัติตามคำอธิบายได้ ก็สามารถพิสูจน์ได้อย่างเป็นวิชาการสมัยปัจจุบันว่า “ทำได้จริง”

ที่ว่า พิสูจน์ได้อย่างเป็นวิชาการสมัยปัจจุบันว่า  “ทำได้จริง” ก็คือ  ผมเองได้ทำวิจัยในการแก้ปัญหาต่างๆ ของนักเรียน  ไม่ต่ำกว่า 10 เรื่อง

ผลของการวิจัยยืนยันได้อย่างแน่นอนว่า การปฏิบัติธรรมตามสายวิชาธรรมกายนั้น  เด็กนักเรียน/นักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง สามารถปฏิบัติธรรมได้ผลตามคำสอนของสายวิชาธรรมกายจริง

ในการสอนปฏิบัติธรรมของผมเอง  ผมก็ทำวิจัยไปด้วย  โดยใช้วิธีการวิจัยของทฤษฎีฐานราก (Grounded theory)  เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ  ไม่นำองค์ความรู้ใดๆ ของทางตะวันตก (ยกเว้นตัวทฤษฎี) มาชี้นำในการศึกษา  เรียกว่า ศึกษาหาองค์ความรู้ด้วยหลักการปฏิบัติธรรมล้วนๆ

ศึกษาไปด้วย  บันทึกผลการศึกษาไปด้วย แก้ไขทฤษฏีไปด้วย  ศึกษามาหลายปีแล้ว  กลุ่มตัวอย่างเป็นแสนคนขึ้นไป

นักเรียนที่ผมสอนมีทั้งเด็กนักเรียนปกติ และนักเรียนที่มีความผิดปกติด้านปัญญา  ด้านการได้ยิน  ด้านการมองเห็น  เด็กนักเรียนที่มีความผิดปกติเหล่านี้  สามารถปฏิบัติธรรมได้ผลเช่นเดียวกันกับเด็กนักเรียนปกติทุกประการ

กลับมาที่ข้อเขียนของคุณสุชีพ ที่จะนำมาเป็นตัวอย่างในการวิพากษ์วิจารณ์  มีผู้ถามคุณสุชีพว่า

“ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทางบรรลุเป็นอย่างไรขอหลักฐานที่เป็นพุทธวจนะ (ผู้ถาม : สนใจ)”

คุณสุชีพตอบคำถามดังกล่าว ดังนี้

ขอแสดงหลักฐานในปาสราลิสูตร (12/321/323) และโพธิราชกุมารสูตร (13/509/461) ซึ่งเป็นพระพุทธวจนะแสดงลักษณะพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ไว้ 8 ประการ คือ

1) คัมภีโร  ลึกซึ้ง
2) ทุททโส  เห็นได้ยาก
3) ทุรนุโพโธ  ตรัสรู้ตามได้ยาก
4) สันโต  สงบระงับ
5) ปณีโต  ประณีต
6) อตักกาวจโร  ไม่เป็นสิ่งที่ลงเที่ยวแห่งความตรึก คือ เดาเอาไม่ได้
7) นิปุโณ  ละเอียดอ่อน
8) ปัณฑิตเวทนีโย  อันบัณฑิตพึงรู้ได้ คือ ไม่เหลือวิสัยของผู้มีปัญญา

มีคำถามอีกข้อหนึ่ง คุณสุชีพเอามาพิมพ์ต่อกันกับคำถามข้างบน  คำถามนี้ ถามว่า

“ท่านผู้มีดวงตาเห็นธรรม มีหลักฐานพรรณานาคุณสมบัติไว้อย่างไร?  (ผู้ถาม : ศิษย์พุทโธ)

คำถามนี้ คุณสุชีพตอบดังนี้

ท่านผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระอริยบุคคล  โดยทั่วไป หมายถึง พระโสดาบัน  แต่ในที่บางแห่ง หมายถึง พระอริยบุคคล 3 ระดับ  ที่ต่ำกว่าพระอรหันต์ คือ

พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี  เช่น กรณีชายหนุ่ม 30 คน ที่เรียกว่า ภัททวัคคียกุมาร ผู้ได้ฟังธรรม แล้วได้ดวงตาเห็นธรรม ในสมัยที่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วไม่นานนัก

มีคำกล่าวถึงท่านผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม ทั้งในพระวินัยปิฎก เช่น (4/59/68) และพระสุตตันตปิฏก เช่น (13/74/67)

ในที่นี้ เลือกแสดงที่มาเฉพาะที่กล่าวถึงเพศชาย ถ้าเป็นเพศหญิงและเป็นคนมาก รูปท้ายของคำศัพท์จะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แต่ศัพท์เดิม จะตรงกัน คือ

1) ทิฏฐธัมโม  ผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว
2) ปัตตธัมโม ผู้มีธรรมอันบรรลุแล้ว
3) วิทิตโมโม  ผู้มีธรรมอันทราบหรือรู้แล้ว
4) ปริโยคาฬหธัมโม  ผู้มีธรรมอันหยั่งลงโดยรอบแล้ว
5) ติณณวิจกกิจโฉ  ผู้มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว
6) วิคตกกังกโถ  ผู้ไม่ต้องถามว่าเป็นอย่างไร
7) เวสารัชชัปปัตโต  ผู้บรรลุความกล้าหาญ
8) อปรัปปัจจโย  พุทธสาสเน  ผู้ไม่ต้องมีผู้อื่นเป็นปัจจัยในพระพุทธศาสนา คือ ไม่ต้องนับถือพระพุทธศาสนา เพราะ เชื่อคนนั้นคนนี้ แต่นับถือด้วยความรู้ความเข้าใจชัดเจนของตัวเอง

จากคำตอบทั้ง 2 ข้อนั้น ข้อแรก เรารู้ว่า  พระธรรมนั้น “เห็นได้ยาก” จากคำตอบข้อที่สอง เราก็รู้ว่า มีผู้ “มีดวงตาเห็นธรรม”  เป็นจำนวนมาก

มีศัพท์บาลีกล่าวถึงคุณสมบัติของบุคคลเหล่านั้นว่า “ทิฏฐธัมโม  ผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว

จากคำตอบของคุณสุชีพ  เราสามารถสรุปได้ว่า ธรรมของพระพุทธเจ้าเห็นได้ยาก  แต่ก็มีคนเห็นธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดี เท่าที่ติดตามอ่านหนังสือของคุณสุชีพมาเป็นจำนวนมาก  รวมถึงหนังสือของพุทธวิชาการคนอื่นๆ ด้วย

ผมไม่เคยพบว่า  พุทธวิชาการเหล่านั้น อธิบายว่า ธรรมะนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร หมายถึงลักษณะที่เห็นได้

ถ้าธรรมะสามารถมองเห็นได้  ธรรมะเหล่านั้นก็ต้องมีรูปร่างที่จะต้องอธิบายได้  ไม่อย่างนั้น จะ “เห็น” ได้อย่างไร

พุทธวิชาการยืนยันว่า มี “ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม”  และสามารถกล่าวถึงคุณสมบัติของผู้มีดวงตาเห็นธรรมได้  มีศัพท์บาลียืนยัน

แต่ไม่มีคำอธิบายว่า  ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมนั้น  เห็น “ธรรม” อย่างไร  เห็นได้อย่างไร  ใช้ตาอะไร  และ “ธรรม” นั้น มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร

คุณสุชีพตอบว่า “

ท่านผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระอริยบุคคล  โดยทั่วไป หมายถึง พระโสดาบัน  แต่ในที่บางแห่ง หมายถึง พระอริยบุคคล 3 ระดับ”

คำตอบที่ว่านี้  คุณสุชีพก็ใช้การ “เดา” เอาดื้อๆ  ไม่มีหลักฐานใดๆ จากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา หรืออนุฎีกา  เป็นการเดาล้วนๆ

 -------------------------
เชิงอรรถ
[1] หมายถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ซึ่งผู้เขียนนำไปเผยแพร่ที่ gotoknow....




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น