บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ลักษณะของธรรมะ


ในบทความ “ธรรมะเห็นได้ยาก” พอสรุปได้ว่า

“ธรรมของพระพุทธเจ้าเห็นได้ยาก แต่ก็มีคนเห็นธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน”

พุทธวิชาการยอมรับว่า เราสามารถ “เห็น” ธรรมะได้ และมีผู้มีดวงตาเห็นธรรมจำนวนมาก แต่พุทธวิชาการไม่เคยอธิบายได้เลยว่า ผู้มีดวงตาเห็นธรรมนั้น เห็นอย่างไร และธรรมะมีรูปร่างอย่างไร

พุทธวิชาการได้แต่เพียงเดาว่า

“ท่านผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระอริยบุคคล โดยทั่วไป หมายถึง พระโสดาบัน แต่ในที่บางแห่ง หมายถึง พระอริยบุคคล 3 ระดับ”

ปัญหาที่พุทธวิชาการไม่สามารถอธิบายได้นั้น สามารถอธิบายได้จากการปฏิบัติธรรมตามสายวิชาธรรมกาย ดังนี้

หัวข้อธรรมะทุกหัวข้อธรรมะ มีลักษณะเป็นดวงกลมทั้งสิ้น ต่างกันที่ความละเอียด ความเล็กใหญ่ และสี

คำว่า “สี” นั้น ภาษาธรรมะก็คือ “วรรณะ”

สี” หรือ “วรรณะ” นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเห็นของกายมนุษย์หยาบหรือกายเนื้อ ไม่ว่า “สิ่งใด” จะมีขนาดใหญ่ขนาดไหนก็ตาม ถ้าไม่มีสีหรือวรรณะ เราไม่สามารถจะเห็นสิ่งเหล่านั้นได้เลย นี่พูดกันอย่างภาษาธรรมะ

ถ้าพูดกันอย่างเป็นวิชาการ การเห็นต้องมีปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ “แสง”

กล่าวคือ ถึงแม้วัตถุจะมีขนาด มีสีแล้วก็ตาม แต่ถ้าไม่มีแสงด้วย เราก็ไม่สามารถเห็นวัตถุเหล่านั้นได้เลย ยกตัวย่างเช่น หลุมดำ (black hole)

หลุมดำนี่ มีสีอะไรยังไม่ทราบเหมือนกัน หรืออาจจะมีหลายสีก็มีสิทธิ์เป็นไปได้ แต่หลุมดำ มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก แสงจึงไม่สามารถออกมาจากหลุมดำได้ มนุษย์จึงไม่สามารถมองเห็นหลุมดำได้

ตัวอย่างหลุมดำอาจจะยากไป เอาตัวอย่างที่ง่ายขึ้น ในห้องนอนของเราก็แล้วกัน เราก็รู้อยู่ว่า มีสิ่งของอะไรอยู่ตรงไหนบ้าง

สิ่งที่เราเห็นอยู่นั้น ลองนั่งที่เดิม แต่ไม่มีแสงๆ เลย มีความมืด 100 % ก็แล้วกัน เราก็ไม่สามารถจะเห็นอะไรได้เลย แม้กระทั่งลายมือของเราเอง

หัวข้อธรรมะทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ มีทั้งอย่างหยาบ และละเอียด คำว่า “หยาบ” และ “ละเอียด” ที่ว่านั้น มีหยาบมากขึ้น และละเอียดมากขึ้นไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นอีกนิดก็คือ

หัวข้อธรรมะหยาบอย่างธรรมดา เราก็สามารถมองเห็นได้ด้วยตาของกายมนุษย์ เช่น ความเจ็บ ความแก่ ความตายเป็นต้น

แต่หัวข้อธรรมะอย่างหยาบ ที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาของกายมนุษย์ แต่มองเห็นได้ด้วยตาของกายธรรมก็มี

หยาบยิ่งกว่าของในโลกนี้อีก นี่ไม่ต้องพูดถึงหัวข้อธรรมะที่ละเอียดๆ

กลับมาที่ลักษณะของธรรมะ ขอย้ำอีกครั้งว่า “ธรรมะ” มีลักษณะเป็นดวงกลมทั้งสิ้น ต่างกันที่ความละเอียด ความเล็กใหญ่ และสี

หัวข้อธรรมะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ภาคพระจะมีสีขาวใส ภาคมารที่จะสีไปทางดำจนถึงดำสนิท ส่วนภาคกลางนั้น จะมีสีตะกั่ว

ธรรมะทุกข้อจะมีจุดศูนย์กลางเดียวกัน คือ ที่ในท้อง เหนือสะดือ 2 นิ้วมือ มีระยะเท่ากับนิ้วหัวแม่มือของมือซ้ายกับมือขวาซ้อนกัน ถ้าเอาสะดวกๆ ก็ความกว้างของนิ้วชี้กับนิ้วกลางรวมกัน

ณ บริเวณ เหนือสะดือ 2 นิ้วมือ ในท้องของใครของมันนั้น ในทางวิชาธรรมกายคือ จุดศูนย์กลางกาย 

หัวข้อธรรมะทุกหัวข้อมีลักษณะเป็นดวงกลมเหมือนกัน มีจุดศูนย์กลางเดียวกัน ดวงธรรมทุกดวงที่ว่านั้น มีความหยาบละเอียดแตกต่างกันไป อย่างไม่ต้องจินตนาการ มีจุดศูนย์กลางเดียวกันที่จุดนี้

เมื่อเราจะศึกษาธรรมะหัวข้อใด  ดวงธรรมะนั้นก็จะปรากฏออกมาให้เราศึกษา ดวงธรรมะอื่นๆ เราก็ไม่เห็น  แต่เมื่อถึงเวลาจะศึกษา ดวงธรรมะนั้นก็ออกปรากฏให้เห็นขึ้นมา

คำอธิบายของสายวิชาธรรมกายข้างต้นนั้น จึงสามารถอธิบายคำว่า “ทางสายกลางเดียว” ที่มีคำแปลภาษาบาลีไปต่างๆ กัน เช่น ทางสายกลาง ทางสายเอก ทางสายเดียว ฯลฯ ได้ถูกต้องตรงเผงกับพระไตรปิฎก

ไม่มีคำอธิบายของพุทธวิชาการใดๆ หรือสายปฏิบัติธรรมใดๆ อธิบายได้อย่างชัดเจนเท่ากับคำอธิบายของสายวิชาธรรมกาย

จะเห็นว่า

พุทธวิชาการยอมรับว่า เราสามารถ “เห็น” ดวงธรรมได้ และมีผู้มีดวงตาเห็นธรรมจำนวนมาก แต่พุทธวิชาการไม่เคยอธิบายได้เลยว่า ผู้มีดวงตาเห็นธรรมนั้น เห็นอย่างไร และธรรมะมีรูปร่างอย่างไร

สายวิชาธรรมกายสามารถอธิบายได้ว่า ดวงธรรมมีลักษณะเป็นดวงกลมทั้งสิ้น มีขนาดและความละเอียดแตกต่างกันไป

หัวข้อธรรมะทุกหัวข้อที่จุดศูนย์กลางเดียวกันที่ในท้องเหนือสะดือ 2 นิ้วมือ จุดนี้คือ ทางสายกลาง และเป็นทางสายเดียวที่จะพาเราไปพระนิพพานได้ ด้วยการปฏิบัติธรรมตามสายวิชาธรรมกาย

มีนักเรียน/นักศึกษาเป็นจำนวนมากที่สามารถปฏิบัติตามคำสอนของวิชาธรรมกายได้ ทั้งนักเรียนปกติและนักเรียนที่ผิดปกติ คือ เด็กปัญญา เด็กหู และเด็กตา

ต่อไป ผมขอจะขอเน้นอธิบายเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีดวงตาเห็นธรรม เพื่อความสะดวกในการอ่านของผู้อ่าน

ผมจึงขอยกคุณสมบัติของผู้มีดวงตาเห็นธรรมมาให้อ่านใหม่ ทั้ง 8 ข้อ ดังนี้

1) ทิฏฐธัมโม ผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว
2) ปัตตธัมโม ผู้มีธรรมอันบรรลุแล้ว
3) วิทิตโมโม ผู้มีธรรมอันทราบหรือรู้แล้ว
4) ปริโยคาฬหธัมโม ผู้มีธรรมอันหยั่งลงโดยรอบแล้ว
5) ติณณวิจกกิจโฉ ผู้มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว
6) วิคตกกังกโถ ผู้ไม่ต้องถามว่าเป็นอย่างไร
7) เวสารัชชัปปัตโต ผู้บรรลุความกล้าหาญ
8) อปรัปปัจจโย พุทธสาสเน ผู้ไม่ต้องมีผู้อื่นเป็นปัจจัยในพระพุทธศาสนา คือ ไม่ต้องนับถือพระพุทธศาสนา เพราะ เชื่อคนนั้นคนนี้ แต่นับถือด้วยความรู้ความเข้าใจชัดเจนของตัวเอง


ขอให้ผู้อ่านดูข้อ 1 กับ ข้อ 8 ก่อน

1) ทิฏฐธัมโม ผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว
8) อปรัปปัจจโย พุทธสาสเน ผู้ไม่ต้องมีผู้อื่นเป็นปัจจัยในพระพุทธศาสนา คือ ไม่ต้องนับถือพระพุทธศาสนา เพราะ เชื่อคนนั้นคนนี้ แต่นับถือด้วยความรู้ความเข้าใจชัดเจนของตัวเอง

คุณสมบัติของผู้มีดวงตาเห็นธรรม 2 ข้อนี้ สรุปได้ว่า ผู้มีดวงเห็นธรรมนั้น พอเห็นธรรมแล้ว ก็จะนับถือศาสนาแบบ “ความรู้ความเข้าใจชัดเจนของตัวเอง” โดยคำอธิบายของคุณสุชีพ

ก็เช่นเดียวกับคำอธิบายของคุณสุชีพ หรือพุทธวิชาการคนอื่นๆ ที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่า “ผู้ไม่ต้องนับถือพระพุทธศาสนา เพราะ เชื่อคนนั้นคนนี้ แต่ผู้ไม่ต้องมีผู้อื่นเป็นปัจจัยในพระพุทธศาสนา

คือ ไม่ต้องนับถือพระพุทธศาสนา เพราะ เชื่อคนนั้นคนนี้ แต่นับถือด้วยความรู้ความเข้าใจชัดเจนของตัวเอง” นั้น เป็นอย่างไร

ในทางวิชาธรรมกายนั้น ในการเห็นหัวข้อธรรมะต่างๆ นั้น ผู้ปฏิบัติจะ “เห็น” จริงๆ ด้วยตาของกายภายในต่างๆ พอ “เห็น” แล้วก็จะ “รู้” ทันที

การ “ทั้งรู้ทั้งเห็น” ด้วยตนเอง ซึ่งก็ตรงกับคำศัพท์ของไตรปิฎกอย่างตรงเผงอีก คือ คำว่า “ญาณทัสสนะ”

คำว่า “ญาณ” แปลว่า “รู้” คำว่า “ทัสสนะ” แปลว่า “เห็น” คำนี้ มีพบทั่วไปในพระไตรปิฎก ส่วนใหญ่ส่วนพุทธวิชาการไม่ค่อยแปลความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจ มักจะใช้คำทับศัพท์ไปเลย

ผู้อ่านจำนวนมาก เลยไม่เข้าใจความหมายของคำสำคัญนี้

คำว่า “ญาณทัสสนะ” เป็นการยืนยันอย่างชัดเจนว่า ในการศึกษาทางศาสนาพุทธนั้น จะต้องมี “การรู้” กับ “การเห็น” ไปด้วยกันอย่างแยกกันไม่ได้

การที่คนใดคนหนึ่ง ทั้ง “เห็น” และก็ “รู้” ไปด้วย จึงทำให้บุคคลผู้นั้น “นับถือพระพุทธศาสนา ด้วยความรู้ความเข้าใจชัดเจนของตัวเอง” ไม่ต้องถามใครอีกเลย

หลักฐานสนับสนุน

ผมเป็นวิทยาการสอนธรรมะซึ่งเป็นลูกศิษย์ของคุณลุงการุณย์ บุญมานุช สอนธรรมะในนามของ “มูลนิธิศึกษาการุณย์” วิทยากรของเรามีหลายสิบคน จากหลากหลายอาชีพ

มีวิทยากรคนหนึ่ง เป็นสุภาพสตรี อาชีพเป็นเทคนิคการแพทย์ ปัจจุบันอายุประมาณ 26 ปี เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม

เพื่อนของสุภาพสตรีผู้นี้ ขอร้องให้ท่านผู้นี้ ลองฝึกวิชาธรรมกายครั้งหนึ่ง ก่อนหน้านี้ สุภาพสตรีท่านนี้ ไม่เคยรู้จักวิชาธรรมกายมาก่อน ไม่เคยรู้จักพระพุทธเจ้า ไม่เคยรู้จักจักรพรรดิ

สุภาพสตรีท่านนี้ ฝึกครั้งเดียว ได้วิชาธรรมกายชั้นสูงเลย คุณลุงการุณย์ บุญมานุชยืนยันว่า เท่าที่มีลูกศิษย์ คนนี้ทำวิชาได้สูงกว่าคนอื่น ทำวิชาได้สูงกว่าลูกศิษย์ที่เป็นพุทธตั้งแต่เกิดเสียอีก

ท่านผู้นี้ เป็นตัวอย่างของบุคคลที่ “นับถือพระพุทธศาสนา ด้วยความรู้ความเข้าใจชัดเจนของตัวเอง” โดยไม่ต้องถามใครอีกเลยอย่างแท้จริง

ผมเสียอีกบางครั้ง ต้องไปถามความรู้จากท่าน ในบางครั้ง เราต้องการทราบความเห็นของพระพุทธเจ้า ก็ต้องไปให้ ท่านผู้นี้ให้ถามให้

ใครอยากทราบ อยากรู้จัก บุคคลผู้นี้ ก็มาเข้าเป็นวิทยากรร่วมกับเรา รับรองพบท่านผู้นี้แน่ๆ

ต่อไปคือ คุณสมบัติของผู้มีดวงตาเห็นธรรมในข้อที่ 4 ปริโยคาฬหธัมโม ผู้มีธรรมอันหยั่งลงโดยรอบแล้ว”

ข้อความนี้ อีกเช่นกันที่พุทธวิชาการ หรือพุทธปฏิบัติธรรมสายอื่นๆ อธิบายไม่ได้ว่า ความหมายที่ถูกต้องเป็นเช่นไร

ข้อความที่ว่านั้น ในการปฏิบัติธรรมตามสายวิชาธรรมกายพบดังนี้

หัวข้อธรรมะที่ว่า เป็นดวงกลมนั้น เป็นหัวข้อธรรมะที่ละเอียดสุด  หัวข้อธรรมะดังกล่าว เมื่อขยายส่วนหยาบขึ้นมาแล้ว บางหัวข้อธรรมะไม่ได้เป็นดวงกลมอีกแล้ว แต่มีรูปร่างไปตามลักษณะของหัวข้อธรรมะนั้นๆ เช่น กาย

กายของเรานี้ มีเป็นจำนวนมากมาย ทั้งหยาบและละเอียด ส่วนเล็กสุดจะเป็นดวงกลมใส ในการเป็น “ผู้มีธรรมอันหยั่งลงโดยรอบแล้ว” ในทางวิชาธรรมกายคือ การเห็นธรรมะหัวข้อนั้นๆ โดยรอบ คือ เห็นทีเดียวทั้งหมดทั้งนอก ใน ซ้าย ขวา บน ล่าง

การเห็นแบบนี้ จินตนาการไม่ได้ ต้องเป็นการเห็นจริงๆ ในการเห็นกายนั้น จะเห็นกายทั้งหมดทั้งกายเลย ทั้งข้างนอกข้างใน

ขอยกตัวอย่างคำถามของนักศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นตัวอย่างประกอบ

ในการไปสอนการปฏิบัติธรรมตามสายวิชาธรรมกาย นักศึกษาคนหนึ่งถามว่า “ทำไม ผมเห็นพระในท้องทั้งด้านหน้าและด้านหลังพร้อมกัน”

การเห็นของนักศึกษาผู้นั้น ไม่ใช่เห็นเฉพาะด้านหน้าและด้านหลัง แต่เห็นพร้อมกันหมดทั้งกาย การเห็นเช่นนี้ เป็นการเห็นโดยรอบ

จะเห็นว่า ผู้ปฏิบัติธรรมตามสายวิชาธรรมกายนั้น จะสามารถเห็นธรรมะโดยรอบ เห็นเมื่อไร ก็จะรู้ไปโดยทันที เป็นอัตโนมัติ

การทั้งรู้ทั้งเห็นจึงทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมตามสายวิชา “นับถือพระพุทธศาสนา ด้วยความรู้ความเข้าใจชัดเจนของตัวเอง” โดยไม่ต้องถามใครอีกเลยอย่างแท้จริง

ในกรณีหมายถึง หัวข้อธรรมะนั้นๆ แต่หัวข้อธรรมะอื่นๆ ก็ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมจนกว่าจะบรรลุพระอรหันต์

ในการศึกษาหัวข้อธรรมะ ที่ยัง “ไม่รู้” และยัง “ไม่เห็น” ก็ยังต้องถามครูบาอาจารย์ก่อน แต่ความลังเลสงสัยในศาสนา หมดไปแล้ว....





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น